วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เต่าทอง กล้วยไม้ในสกุลเอื้องนิ่ม

เต่าทอง กล้วยไม้ในสกุลเอื้องนิ่ม
เต่าทอง กล้วยไม้ในสกุลเอื้องนิ่มที่ช่อดอกแทงออกจากข้างลำลูกกล้วยเหมือนกัน กล้วยไม้แต่ละต้นแต่ละสกุล  ส่วนใหญ่มักตั้งชื่อร้อยเรียงกันแล้วแต่จินตนาการของคนตั้ง ตัวอย่างเช่น กล้วยไม้สกุลเข็ม เมื่อพิจารณาเดือนด้านล่างที่เห็นแหลมเล็ก ก็ตั้งชื่อว่า สกุลเข็ม เมื่อพบกล้วยไม้สกุลนี้ในต่างสีกัน ก็ตั้งชื่อตามสีว่า เข็มแดง เข็มแสด เข็มม่วง เห็นได้ว่าสกุลนี้เอาลักษณะเป็นพื้น แล้วเอาสีต่อ แต่ชื่อสิงโตในกล้วยไม้ กลับได้จากลัษณะลำลูกกล้วยหรือลำต้น ไม่ใช่จากลักษณะดอก แต่คำที่สองกลายเป็นลักษณะดอก เช่น สิงโตพัด คำที่สามเป็นคำสุดท้ายเอาสีัขยายต่อไปอีก เป็น สิงโตพัดแดง สิงโตพัดสีทอง พอมาสกุล รองเท้านารี กลับไปตั้งชื่อสกุลตามลักษณะกระเป๋า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดอก เพราะคล้ายกับหัวรองเท้าของสุภาพสตรี คำต่ีอจากนั้นเป็นสี แล้วค่อยตามด้วยแหล่งธรรมชาติที่พบ เช่น รองเท้านารีเหลืองปราจีน รองเท้านารีเหลืองพังงา รองเท้านารีขาสสตูล เป็นต้น


อย่างไรก็ตาม ยังมีกล้วยไม้บางสกุลที่ไม่ได้ตั้งชื่อร้อยเรียงหรืออิงกับชื่อสกุึลเหมือนกัน เช่น กรณีกล้วยไม้สกุลเอื้องนิ่ม เป็นการตั้งชื่อจากลำลูกกล้วยของกล้วยไม้สกุลนี้ที่ค่อนข้างนิ่ม แต่พอมาเป็นแต่ละพันธุ์ กลับมีชื่อแต่ละพันธุ์ กลับมีชื่อต่างออกไป เช่นวงช้าง (ช่อ-วง-ช้าง) ตั้งชื่อขึ้นจากลักษณะดอก แจกันเงิน ตั้งชื่อขึ้นจากลักษณะของลำลูกกล้วย และเต่าทอง ตั้งขึ้นจากสีดอกที่ส้มสดใส แต่บางคนอาจสงสัยว่าเต่าทองทำไมไม่ใช่สีทอง ซึ่งความจริง เต่าทองมี 3 สี คือ สีเหลือง สีส้ม และสีแดง

เต่าทอง (Eria ornata) และคณะที่นำเสนอเป็นกล้วยไม้ในสกุลเอื้องนิ่ม มีทั้งประเภทกิ่งดินและกึ่งอากาศ แบบกึ่งดินอาศัยอยู่บนเขาหินปูนในภาคใต้ พบมากบริเวณที่ราบยอดเขา ตามซอกหินปูนที่มีใบไม้ทับถมอยู่กลางแสงแดดค่อนข้างจัด ไม่ชอบอยู่ใต้ร่มไม้ในธรรมชาติต้นจะอยู่รวมกันเป็นดงขนาดใหญ่ พบทั้งบนเกาะและบนเขาที่ดอน ช่อดอกเกิดจากข้างลำกล้วย ยาวได้ถึง 20-30 เซนติเมตร ที่เห็นเป็นสีแสดเด่นเป็นเงามันนั้นไม่ใช่กลีบดอก แต่เป็นใบประดับ ดอกจะอยู่ในซอกใบประดัีบอีกที ซึ่งมีขนาดเล็กไม่สวยงาม ดอกบานทนได้หลายสัปดาห์ ฤดูดอกบานเป็นฤดูฝนระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ไม่ค่อยนิยมปลูกเลี้ยงกันมาก และในธรรมชาติเหลือน้อยลงมาก

ไม่มีความคิดเห็น: