วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2551

จัดสวนด้วย โอ่งมังกร โอ่งโบราณ



สวัสดีครับเพื่อน ๆ การจัดสวนนั้นสามารถนำสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในภูมิภาคพื้นบ้านของเรา ซึ่งจะทำให้สวนของเรานั้นมีความเป็นเอกลักษณ์ อย่างเช่นที่ผมนำมาเสนอนี้ ก็ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของพื้นบ้านไทย ๆ ของเราเอง นั่นก็คือโอ่งน้ำ (Jar) ที่เราคุ้นเคยกันนี่แหละ โดยเฉพาะใครที่อยู่ต่างจังหวัดด้วยแล้วต้องรู้จักโอ่งน้ำ เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นโอ่งมังกร โอ่งเขียวไข่กา โอ่งดินเผาด่านเกวียน โอ่งมอญ โดยเฉพาะโอ่งมังกรใคร ๆ ก็ต้องนึกถึงโอ่งราชบุรีแน่นอน มีคำสโลแกนประจำจังหวัดราชบุรีว่า


“คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร
วัดขนอนหนังใหญ่ ตื่นใจถ้ำงาม ตลาดน้ำดำเนิน
เพลินค้างคาวร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดี”


ท่านทราบหรือเปล่าว่าทำไมโอ่งมังกรจึงต้องมาจากราชบุรีเพียงแห่งเดียวหรือ ก็ไปเคยคุยกับชาวบ้านที่เขาขายโอ่งกันมานานตั้งแต่ยุคพ่อของพ่อ อะไรประมาณนั้นเล่าให้ฟังว่า มีคนจีนซึ่งเคยทำเครื่องปั้นดินเผามาก่อนจากเมืองจีน ได้มาริเริ่มทำโอ่ง อ่าง ไห ขาย จีนรุ่นบุกเบิกชื่อ นายจือเหม็ง แซ่อึ้งและพรรคพวก ได้รวบรวมทุนได้ 3,000 บาท ตั้งโรงงานเถ้าเซ่งหลีขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2476 เป็นโรงงานขนาดเล็กบริเวณสนามบินอยู่ตรงข้ามโรงเรียนอนุบาลราชบุรีเดี๋ยวนี้










โอ่งเขียวไข่กา ใบนี้สมบูรณ์มาก นำมาจัดสวนทำให้สวนดูสวยมีสไตล์


เขาบอกว่าแหล่งดินสีแดงที่ราชบุรีก็ค่อนข้างจะมีคุณภาพเหมือนที่เมืองจีน ดังนั้น จากเดิมเราใช้โอ่งอ่างไหจากเมืองจีน ผู้ริเริ่มก็ทำอ่าง ไห กระปุก และโอ่งบ้างเล็กน้อย ให้ชาวมอญราชบุรีใส่เรือไปเร่ขาย
การทำโอ่งได้ริเริ่มอย่างจริงจังก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ดินขาวที่ใช้แต่งลวดลายเดิมได้มาจากเมืองจีน ต่อมาได้หาทดแทนจากดินที่ท่าใหม่จันทบุรี และสุราษฏร์ธานี เมื่อกิจการรุ่งเรืองขึ้น โรงงานจึงขยายกิจการและผลิตโอ่งเพิ่มมากขึ้น หุ้นส่วนหลายคนแยกตัวไปตั้งโรงงานเอง โดยเฉพาะในจังหวัดราชบุรี
ปัจจุบันมีโรงงานผลิตโอ่งอยู่ถึง 42 แห่ง และเป็นโรงงานผลิตเครื่องเคลือบรูปแบบต่าง ๆ ออกไปอีก 17 แห่งตามจังหวัดอื่น ๆ ที่แยกไปจากนี้ คือ ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จังหวัดชลบุรีและในกรุงเทพมหานครบริเวณ สามเสน เป็นต้น

โอ่งดินเผาด่านเกวียน ในเอกลักษณ์ของด่านเกวียนคือตัวโอ่งบาง เนื้อแกร่ง เวลาเราเคาะเบา ๆ จะมีเสียงดังกังวาล


เจ้าของโรงงาน ช่างปั้น และประชาชนส่วนใหญ่ของจังหวัดราชบุรี เมื่อครึ่งศตวรรษมาแล้วล้วนเป็นลูกหลานจีน ดังนั้นช่างปั้นจึงได้คิดคัดเลือกลวดลายที่เป็นมงคล และมี
ความหมายที่ดี เพื่อให้เกิดความรู้สุกที่ดีต่อผู้ใช้ นอกเหนือจากความงามเพียงอย่างเดียว ที่สุดก็ได้เลือกสรรลวดลายมังกร ซึ่งแฝงและฝังไว้ด้วยความหมายตามความเชื่อ
คตินิยมในวัฒนธรรมจีน
ลวดลายมังกรดั้นเมฆ มังกรคาบแก้ว และมังกรสองตัวเกี่ยวพันกัน ล้วนเป็นสัตว์สำคัญในเทพนิยายของจีน เป็นเทพแห่งพลัง แห่งความดี และแห่งชีวิต ช่างปั้นเลือกเอา
มังกรที่มี 3 เล็บหรือ 4 เล็บ เป็นลวดลายตกแต่งโอ่ง ช่างผู้ชำนาญปาดเนื้อดินด้วยหัวแม่มือเป็นรูปมังกร โดยไม่ต้องร่างแบบ ขีดเป็นลายมังกรด้วยปลายซี่หวี เป็นหนวด นิ้ว
เล็บ ส่วนเกล็ดมังกรหยักด้วยแผ่นสังกะสีแล้วเน้นลูกตาให้เด่นออกมา

มารู้จักมังกรซิครับ
พญานาค
เป็นชื่อที่คนไทยเรียก
มังกร
เป็นชื่อที่คนจีน ญี่ปุ่น เกาหลีและญวนใช้เรียก
จึงผิดกันเฉพาะรูปร่างหน้าตาและชื่อที่เรียกเท่านั้น ไทยเราไม่เรียก แล้ง เล่ง หรือ หลง ตามภาษาจีน แต่เรียกมังกร มาจากบาลีสันสกฤตว่า มกร หรืออย่างไร ก็ไม่ทราบ
ว่าถึงรูปร่างมกรก็เป็นอีกแบบหนึ่งไม่เหมือนรูปเล่งของจีน ในหนังสือตำราพิชัยสงคราม สมัยรัชกาลที่ 2 มีการจัดขบวนทัพข้ามน้ำเรียกว่า มังกรพยุหะ ก็เขียนรูปมังกรคล้าย
พญานาค เพียงแต่เพิ่มเขาและเท้าเข้าไปเท่านั้น บางตัวก็มีเกล็ด บางตัวก็มีลายแบบงู ความจริงรูปร่างมังกรแบบจีน คนไทยก็คงเคยเห็นมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาแล้วใน
สมัยรัตนโกสินทร์ก็ใช้เป็นลายประดับตามประตู และสลักบนแผ่นหินหลายแห่งรูปมังกรของจีนคงจะได้แพร่หลายไปตามภาชนะพวกถ้วยชามโอ่งไห ดังได้พบบนลายโอ่ง
สมัยราชวงศ์ถังที่พบในแม่น้ำลำคลอง
ความจริงแล้วเรื่องของมังกร พญานาค งู ปลา จระเข้ มีเรื่องพัวพันกันชอบกลเรื่องของจีนที่เกิดสมัยที่นับถือพระพุทธศาสนาแล้ว ไทยแปลคำว่า เล้ง เล่ง หลง เป็น
พญานาคหมด ทำให้คนไทยเข้าใจเรื่องดีขึ้น และไทยก็เอารูปมังกรมาเขียนเป็นเป็นแบบไทย ๆ คล้ายพญานาคดังกล่าวมาแล้ว
ในหนังสือประวัติวัฒนธรรมจีนได้กล่าวถึงกำเนิดมังกรไว้เป็นความว่า มังกรเกิดขึ้นในสมัยอึ่งตี่หรือหวงตี้ ได้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องหมายประจำชาติจีน เพราะ
สมัยโบราณมนุษย์นิยมใช้รูปสัตว์หรือดอกไม้เป็นเครื่องหมายประจำเผ่าของตน ชาติจีนที่ได้รวมขึ้นเป็นชาติใหม่ จึงควรมีเครื่องหมายประจำชาติใหม่ กษัตริย์อึ่งตี่จึงนำ
ส่วนต่าง ๆ ของสัญลักษณ์ที่แต่ละเผ่าเคยใช้มารวมกัน คือนำหัวของสัญลักษณ์ชนเผ่าวัว ลำตัวของเผ่างู เกล็ดหางของเผ่าปลา เขาของเผ่ากวาง และเท้าของเผ่านก นำ
ส่วนต่าง ๆ เหล่านี้มาปรุงเป็นรูปสัตว์ชนิดใหม่ขึ้นเรียกว่า เล้ง หรือมังกร
มังกรมีเล็บไม่เท่ากัน มังกรผู้ยิ่งใหญ่หรือระดับหัวหน้าจะมี 5 เล็บ และรูปมังกรที่ฉลองพระองค์ของจักรพรรดิจะมีเล็บมากกว่ามังกรธรรมดา คือ ธรรมดามีเพียง 4 เล็บ
รูปมังกรที่ฉลองพระองค์ก็จะมี 5 เล็บ และใช้เป็นเครื่องหมายของราชวงศ์ที่มียศสูงสุดส่วนพวกเจ้าชั้นที่ 3 ที่ 4 หรือขุนนางใช้เป็นเครื่องหมายได้เพียงมังกรชนิดชนิด 4
เล็บเท่านั้น ส่วนการประดับตกแต่งทั่ว ๆ ไปก็จะใช้มังกรชนิด 3 เล็บเป็นพื้น มังกรชนิด 5 เล็บนั้นกล่าวว่าเล็บที่ 5 ไม่ได้เรียงกันแบบธรรมดา เล็บที่ 5 จะวางอยู่ตรงกลางฝ่า
เท้า
มังกรของจีน นอกจากจะมีเขาแบบกวางแล้ว ตัวผู้ยังมีหนวดมีเคราอีกด้วย ตั้งแต่รัชกาล เถาจื่อ แห่งราชวงศ์ถัง ได้เริ่มใช้มังกร 5 เล็บ เป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิ
มังกรมี 3 ชนิด แต่แบ่งหน้าที่เป็น 4 พวก
จีนได้แบ่งชนิดของมังกรออกเป็น 3 ชนิดด้วยกัน คือ
หลง
เป็นพวกที่มีอำนาจมากที่สุด มีนิสัยชอบอยู่บนฟ้า
หลี
เป็นพวกที่ไม่มีเขา อาศัยอยู่ในมหาสมุทร
เจียว
เป็นพวกมีเกล็ด อยู่ตามลุ่มหนองหรือถ้ำในภูเขา
ที่รู้จักกันมากคือ หลง ซึ่งมีส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ 9 อย่างดังกล่าวมาแล้ว
มังกรของจีนมีหน้าที่แบ่งกันทำ 4 พวกด้วยกัน คือ
มังกรสวรรค์
มีหน้าที่รักษาวิมานเทวดาและค้ำจุนวิมานไม่ให้พังลงมา
มังกรเทพหรือมังกรเจ้า
มีหน้าที่ให้ลมให้ฝนเพื่อประโยชน์ของมนุษย์
มังกรพิภพ
มีหน้าที่กำหนดเส้นทางดูแลแม่น้ำลำธาร
มังกรเฝ้าทรัพย์
มีหน้าที่เฝ้าขุมทรัพย์ของแผ่นดิน
มีเรื่องน่าสังเกตว่า หน้าที่ของมังกรไปตรงกับหน้าที่ของพญานาค ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 พวกเหมือนกัน
ไทยรู้จักมังกรมาตั้งแต่เมื่อไร
อย่างต่ำที่สุดก็ พ.ศ.2276 ในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ มีรูปมังกรประดับพระเมรุด้วย แต่รูปร่างจะเป็นอย่างไรไม่ทราบ มาเห็นรูป
ร่างมังกรในตำราพิชัยสงครามสมัยรัชกาลที่ 2 กรุงรัตนโกสินทร์ก็เป็นแบบไทย ๆ คือคล้ายพญานาค แต่ไม่มีหงอนสูง มีเขา 2 เขา มีครีบ มีตีน

ทำไมรูปมังกรจึงต้องมีลูกแก้วด้วย
ตามตำนานกล่าวว่า มังกรมีไข่มุกมีค่าเท่ากับทองร้อยแท่งอยู่ในปาก เมื่อมังกรต่อสู้กันอยู่บนอากาศ ไข่มุกก็ตกลงมาบนพื้นดิน ต้นเรื่องของมังกรคาบแก้วหรือเล่น
แก้วจะมาจากเรื่องนี้หรือเปล่าไม่ทราบ แต่ฟังตามเรื่องแล้วมังกรชอบเพชนนิลจินดามาก ตามภาพเขียนของจีนถ้าเป็นรูปมังกร 2 ตัวหันหน้าเข้าหากัน ก็จะเป็นรูปกลม ๆ สี
แดงอยู่ระหว่างมังกรทั้งสองนี้ บ้างก็ว่ารูปกลมแดงนั้นเป็นสัญลักษณ์แทนดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์

ภูมิใจในคำขวัญ “เมืองโอ่งมังกร”
ด้วยพื้นฐานของช่างปั้นซึ่งเป็นลูกหลานของคนจีน เนื้อดินเหนียวเป็นวัตถุดิบชนิดดี ช่างติดลายได้นำความสามารถเชิงศิลปะสะท้อนภาพชีวิตตามวัฒนธรรมจีน มา
ผสมผสานกับเทคนิคการผลิตเป็นอุตสาหกรรม อดีตจากท่าน้ำหน้าเมือง โอ่งมังกรจะแพร่ไปทั่วตามแม่น้ำลำคลอง ที่เรือขายโอ่งจะผ่านไปได้ จนปัจจุบันนี้ รถบรรทุกสิบล้อ
จะขนไปขายทั่วประเทศอย่างเนื่อง ไม่ว่าเหนือจรดใต้ จนเป็นที่รู้จักว่าราชบุรีคือเมืองโอ่งมังกร

เมื่องานกีฬาเยาวชนครั้งที่ 5 และงานมหกรรมของดีเมืองราชบุรี ปี 2532 จังหวัดได้สร้างคำขวัญเพื่อเผยแพร่ให้รู้จักจังหวัดราชบุรี ว่า

คนจีนซึ่งเคยทำเครื่องปั้นดินเผามาก่อนจากเมืองจีน ได้มาริเริ่มทำโอ่ง อ่าง ไห ขาย
จีนรุ่นบุกเบิกชื่อ นายจือเหม็ง แซ่อึ้งและพรรคพวก ได้รวบรวมทุนได้ 3,000 บาท ตั้งโรงงานเถ้าเซ่งหลีขึ้น
เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2476 เป็นโรงงานขนาดเล็กบริเวณสนามบินอยู่ตรงข้ามโรงเรียนอนุบาลราชบุรีเดี๋ยวนี้
แหล่งดินสีแดงที่ราชบุรีก็ค่อนข้างจะมีคุณภาพเหมือนที่เมืองจีน ดังนั้น จากเดิมเราใช้โอ่งอ่างไหจากเมืองจีน
ผู้ริเริ่มก็ทำอ่าง ไห กระปุก และโอ่งบ้างเล็กน้อย ให้ชาวมอญราชบุรีใส่เรือไปเร่ขาย
การทำโอ่งได้ริเริ่มอย่างจริงจังก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ดินขาวที่ใช้แต่งลวดลายเดิมได้มาจากเมืองจีน
ต่อมาได้หาทดแทนจากดินที่ท่าใหม่จันทบุรี และสุราษฏร์ธานี
เมื่อกิจการรุ่งเรืองขึ้น โรงงานจึงขยายกิจการและผลิตโอ่งเพิ่มมากขึ้น
หุ้นส่วนหลายคนแยกตัวไปตั้งโรงงานเอง โดยเฉพาะในจังหวัดราชบุรี
ปัจจุบันมีโรงงานผลิตโอ่งอยู่ถึง 42 แห่ง และเป็นโรงงานผลิตเครื่องเคลือบรูปแบบต่าง ๆ ออกไปอีก 17 แห่งตามจังหวัดอื่น ๆ ที่แยกไปจากนี้ คือ ที่อำเภอ
หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จังหวัดชลบุรีและในกรุงเทพมหานครบริเวณ สามเสน เป็นต้น
เจ้าของโรงงาน ช่างปั้น และประชาชนส่วนใหญ่ของจังหวัดราชบุรี เมื่อครึ่งศตวรรษมาแล้วล้วนเป็นลูกหลานจีน ดังนั้นช่างปั้นจึงได้คิดคัดเลือกลวดลายที่เป็นมงคล และมี
ความหมายที่ดี เพื่อให้เกิดความรู้สุกที่ดีต่อผู้ใช้ นอกเหนือจากความงามเพียงอย่างเดียว ที่สุดก็ได้เลือกสรรลวดลายมังกร ซึ่งแฝงและฝังไว้ด้วยความหมายตามความเชื่อ
คตินิยมในวัฒนธรรมจีน
ลวดลายมังกรดั้นเมฆ มังกรคาบแก้ว และมังกรสองตัวเกี่ยวพันกัน ล้วนเป็นสัตว์สำคัญในเทพนิยายของจีน เป็นเทพแห่งพลัง แห่งความดี และแห่งชีวิต ช่างปั้นเลือกเอา
มังกรที่มี 3 เล็บหรือ 4 เล็บ เป็นลวดลายตกแต่งโอ่ง ช่างผู้ชำนาญปาดเนื้อดินด้วยหัวแม่มือเป็นรูปมังกร โดยไม่ต้องร่างแบบ ขีดเป็นลายมังกรด้วยปลายซี่หวี เป็นหนวด นิ้ว
เล็บ ส่วนเกล็ดมังกรหยักด้วยแผ่นสังกะสีแล้วเน้นลูกตาให้เด่นออกมา

มารู้จักมังกรซิครับ
พญานาค
เป็นชื่อที่คนไทยเรียก
มังกร
เป็นชื่อที่คนจีน ญี่ปุ่น เกาหลีและญวนใช้เรียก
จึงผิดกันเฉพาะรูปร่างหน้าตาและชื่อที่เรียกเท่านั้น ไทยเราไม่เรียก แล้ง เล่ง หรือ หลง ตามภาษาจีน แต่เรียกมังกร มาจากบาลีสันสกฤตว่า มกร หรืออย่างไร ก็ไม่ทราบ
ว่าถึงรูปร่างมกรก็เป็นอีกแบบหนึ่งไม่เหมือนรูปเล่งของจีน ในหนังสือตำราพิชัยสงคราม สมัยรัชกาลที่ 2 มีการจัดขบวนทัพข้ามน้ำเรียกว่า มังกรพยุหะ ก็เขียนรูปมังกรคล้าย
พญานาค เพียงแต่เพิ่มเขาและเท้าเข้าไปเท่านั้น บางตัวก็มีเกล็ด บางตัวก็มีลายแบบงู ความจริงรูปร่างมังกรแบบจีน คนไทยก็คงเคยเห็นมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาแล้วใน
สมัยรัตนโกสินทร์ก็ใช้เป็นลายประดับตามประตู และสลักบนแผ่นหินหลายแห่งรูปมังกรของจีนคงจะได้แพร่หลายไปตามภาชนะพวกถ้วยชามโอ่งไห ดังได้พบบนลายโอ่ง
สมัยราชวงศ์ถังที่พบในแม่น้ำลำคลอง
ความจริงแล้วเรื่องของมังกร พญานาค งู ปลา จระเข้ มีเรื่องพัวพันกันชอบกลเรื่องของจีนที่เกิดสมัยที่นับถือพระพุทธศาสนาแล้ว ไทยแปลคำว่า เล้ง เล่ง หลง เป็น
พญานาคหมด ทำให้คนไทยเข้าใจเรื่องดีขึ้น และไทยก็เอารูปมังกรมาเขียนเป็นเป็นแบบไทย ๆ คล้ายพญานาคดังกล่าวมาแล้ว
ในหนังสือประวัติวัฒนธรรมจีนได้กล่าวถึงกำเนิดมังกรไว้เป็นความว่า มังกรเกิดขึ้นในสมัยอึ่งตี่หรือหวงตี้ ได้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องหมายประจำชาติจีน เพราะ
สมัยโบราณมนุษย์นิยมใช้รูปสัตว์หรือดอกไม้เป็นเครื่องหมายประจำเผ่าของตน ชาติจีนที่ได้รวมขึ้นเป็นชาติใหม่ จึงควรมีเครื่องหมายประจำชาติใหม่ กษัตริย์อึ่งตี่จึงนำ
ส่วนต่าง ๆ ของสัญลักษณ์ที่แต่ละเผ่าเคยใช้มารวมกัน คือนำหัวของสัญลักษณ์ชนเผ่าวัว ลำตัวของเผ่างู เกล็ดหางของเผ่าปลา เขาของเผ่ากวาง และเท้าของเผ่านก นำ
ส่วนต่าง ๆ เหล่านี้มาปรุงเป็นรูปสัตว์ชนิดใหม่ขึ้นเรียกว่า เล้ง หรือมังกร
มังกรมีเล็บไม่เท่ากัน มังกรผู้ยิ่งใหญ่หรือระดับหัวหน้าจะมี 5 เล็บ และรูปมังกรที่ฉลองพระองค์ของจักรพรรดิจะมีเล็บมากกว่ามังกรธรรมดา คือ ธรรมดามีเพียง 4 เล็บ
รูปมังกรที่ฉลองพระองค์ก็จะมี 5 เล็บ และใช้เป็นเครื่องหมายของราชวงศ์ที่มียศสูงสุดส่วนพวกเจ้าชั้นที่ 3 ที่ 4 หรือขุนนางใช้เป็นเครื่องหมายได้เพียงมังกรชนิดชนิด 4
เล็บเท่านั้น ส่วนการประดับตกแต่งทั่ว ๆ ไปก็จะใช้มังกรชนิด 3 เล็บเป็นพื้น มังกรชนิด 5 เล็บนั้นกล่าวว่าเล็บที่ 5 ไม่ได้เรียงกันแบบธรรมดา เล็บที่ 5 จะวางอยู่ตรงกลางฝ่า
เท้า
มังกรของจีน นอกจากจะมีเขาแบบกวางแล้ว ตัวผู้ยังมีหนวดมีเคราอีกด้วย ตั้งแต่รัชกาล เถาจื่อ แห่งราชวงศ์ถัง ได้เริ่มใช้มังกร 5 เล็บ เป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิ
มังกรมี 3 ชนิด แต่แบ่งหน้าที่เป็น 4 พวก
จีนได้แบ่งชนิดของมังกรออกเป็น 3 ชนิดด้วยกัน คือ
หลง
เป็นพวกที่มีอำนาจมากที่สุด มีนิสัยชอบอยู่บนฟ้า
หลี
เป็นพวกที่ไม่มีเขา อาศัยอยู่ในมหาสมุทร
เจียว
เป็นพวกมีเกล็ด อยู่ตามลุ่มหนองหรือถ้ำในภูเขา
ที่รู้จักกันมากคือ หลง ซึ่งมีส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ 9 อย่างดังกล่าวมาแล้ว
มังกรของจีนมีหน้าที่แบ่งกันทำ 4 พวกด้วยกัน คือ
มังกรสวรรค์
มีหน้าที่รักษาวิมานเทวดาและค้ำจุนวิมานไม่ให้พังลงมา
มังกรเทพหรือมังกรเจ้า
มีหน้าที่ให้ลมให้ฝนเพื่อประโยชน์ของมนุษย์
มังกรพิภพ
มีหน้าที่กำหนดเส้นทางดูแลแม่น้ำลำธาร
มังกรเฝ้าทรัพย์
มีหน้าที่เฝ้าขุมทรัพย์ของแผ่นดิน
มีเรื่องน่าสังเกตว่า หน้าที่ของมังกรไปตรงกับหน้าที่ของพญานาค ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 พวกเหมือนกัน
ไทยรู้จักมังกรมาตั้งแต่เมื่อไร
อย่างต่ำที่สุดก็ พ.ศ.2276 ในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ มีรูปมังกรประดับพระเมรุด้วย แต่รูปร่างจะเป็นอย่างไรไม่ทราบ มาเห็นรูป
ร่างมังกรในตำราพิชัยสงครามสมัยรัชกาลที่ 2 กรุงรัตนโกสินทร์ก็เป็นแบบไทย ๆ คือคล้ายพญานาค แต่ไม่มีหงอนสูง มีเขา 2 เขา มีครีบ มีตีน

ทำไมรูปมังกรจึงต้องมีลูกแก้วด้วย
ตามตำนานกล่าวว่า มังกรมีไข่มุกมีค่าเท่ากับทองร้อยแท่งอยู่ในปาก เมื่อมังกรต่อสู้กันอยู่บนอากาศ ไข่มุกก็ตกลงมาบนพื้นดิน ต้นเรื่องของมังกรคาบแก้วหรือเล่น
แก้วจะมาจากเรื่องนี้หรือเปล่าไม่ทราบ แต่ฟังตามเรื่องแล้วมังกรชอบเพชนนิลจินดามาก ตามภาพเขียนของจีนถ้าเป็นรูปมังกร 2 ตัวหันหน้าเข้าหากัน ก็จะเป็นรูปกลม ๆ สี
แดงอยู่ระหว่างมังกรทั้งสองนี้ บ้างก็ว่ารูปกลมแดงนั้นเป็นสัญลักษณ์แทนดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์







โอ่งมังกรนำมาทำน้ำพุ น้ำพุด น้ำล้น ก็สวยดีและยังมีความหมายในทางที่เป็นมงคลอีกด้วย หมายถึงมีความเจริญรุ่งเรือง


















โอ่งใบเล็ก ๆ หรือไหสามารถนำมาจัดสวนก็สวยมีสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์


ไม่มีความคิดเห็น: